Posted by: wanna500 | พฤษภาคม 1, 2013

ประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

วิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญมาก  และมีความสำคัญมาเป็นเวลานานแล้ว  ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก คือ เฮโรโตตุส (Herodotus ประมาณ 484-420 ปีก่อน ค.ศ.)  เป็นชาวกรีก  ส่วนผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก คือ  ซือหม่า (Sima Qian ประมาณ 145-85 ปีก่อน ค.ศ. ) เป็นชาวจีน

 
เฮโรโตตุส (Herodotus)
บิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก
(ประมาณ 484 – 420 ปีก่อน ค.ศ.)

นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมรูปแบบใหม่  เพราะมีการเรียงลำดับเรื่อง มีการตั้งประเด็นปัญหา ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ และคำว่า Historic ที่ เขาใช้ในงานเขียนซึ่งก่อนหน้ามีความหมายว่า  วิจัย  เพียงอย่างเดียวได้กลายเป็นคำใหม่คือ คำว่า “ประวัติศาสตร์”
                      
 

                                      

ซือหม่า เซียน (Sima Qian)
บิดาวิชาประวัติศาสตร์โลกตะวันออก
(ประมาณ 145 – 85 ปีก่อน ค.ศ.)

นักประวัติศาสตร์ชาวจีน สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ตรงกับรัชสมัยฮั่อู่ตี้  เป็นผู้ประพันธ์หนังสือ “สื่อจี้” ซึ่งแปลว่า “บันทึกของนักประวัติศาสตร์ โดยได้บันทึกสภาพการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในระยะเวลา 3,000 ปี ตั้งแต่บรรพกาลถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก นับเป็นหนังสือประวัติศาสตร์รวมหลายยุคสมัยเล่มแรกของจีน

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บิดาประวัติศาสตร์ไทบ
(พ.ศ.2405 – 2486)

ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ทรงประกอบพระกรณียกิจต่างๆมากมาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง และทรงเป็นบุคคลแรกๆที่ให้ความสนใจประวัติศาสตร์ไทยโดยได้ทรงพยายามค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อแต่งตำราเผยแพร่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมาก

      ความสำคัญของประวัติศาสตร์ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น กล่าวคือช่วยให้มนุษย์รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจสังคมของมนุษย์โดยส่วนรวม
  • ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้
  • ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน
  • ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน ให้แก่ปัจจุบัน โดยบทเรียนประวัติศาสตร์ อาจใช้เป็นประสบการณ์พื้นฐานการตัดสินใจ เหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง
  • ประวัติศาสตร์สอนให้คนรู้จักคิดเป็น ไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยมิได้ไตร่ตรองพิจารณาให้ ถี่ถ้วนเสียก่อน
  • ประวัติศาสตร์ของชาติย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูล และในความ เป็นชาติประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความรักชาติและช่วยกันรักษาชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ ทั้งก้าวไปสู่ความเจริญ
ขอบคุณ : http://www.baanjomyut.com

ใส่ความเห็น

หมวดหมู่